ชื่อไทย : ปีบทอง
ชื่อท้องถิ่น : กากี(ใต้,สุราษฎร์ธานี)/ จางจืด(ชัยภูมิ,มุกดาหาร) 
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Radermachera hainanensis Merr.
ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-25 เมตร ไม่ผลัดใบเรือนยอดเป็นรูปทรงกรวย โคนต้นเป็นพูพอนสูงเปลือกสีน้ำตาลอ่อน แตกล่อนเป็นแผ่นบางขนาดเล็กมีช่องระบายอากาศเป็นจุดทั่วลำต้น
ใบ :
ประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงกันข้ามใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่  ขนาด 1.8 – 4.5 x 5 – 10 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือเบี้ยว ขอบใบจักห่างและเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
ดอก :
สีส้มปนเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงสั้นๆ หรือคล้ายช่อกระจะตามปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวเป็นมันโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 5 - 6 เซนติเมตร
ผล :
ผลแห้งแตก รูปทรงกระบอกเรียวยาว สีน้ำตาลขนาด 3 – 6 x 26 – 70 เซนติเมตร เมล็ดเป็นปีกบาง มีหลายเมล็ด
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : กุมภาพันธ์ สิ้นสุดระยะติดดอก : เมษายน
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา ขึ้นตามริมลำธารในป่าดิบแล้ง ระดับความสูง 100-600 เมตร[2]

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์ เฉพาะจีนตอนใต้ (ยูนาน , ไหนาน) อินโดจีน ในไทยพบในภาคตะวันออก (เขาใหญ่) ภาคตะวันออกเฉียงใต้ (จันทบุรี) และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี[2]

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ 

การปลูกและการขยายพันธุ์ :
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : ดอกสีส้มทองสวยงามควรนำมาปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในบ้านได้ ลักษณะพุ่มใบสวยคล้ายปีป 
แหล่งอ้างอิง : [1] http://www.rspg.or.th/plants_data/rare_plants/scien_name_r2.htm [2] http://web3.dnp.go.th/botany/detail.aspx?wordsnamesci=Radermachera0hainanensis0Merr. [3] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. โรงพิมพ์ เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 652 หน้า.
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : สถานภาพ: พืชหายาก [1]
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554